หมวด ล – อ

หมวด ล.

ลงรอยกัน
– เข้ากันได้
ล้ำหน้า
– เกินเลยไปกว่าที่ควร
เล็กพริกขี้หนู
– เล็กแต่มีความสามารถ
ล้วงคองูเห่า
– คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
– คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้
เลือดขึ้นหน้า
– โมโห
ลิงหลอกเจ้า
– คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง
ลางเนื้อชอบลางยา
– แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน
เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง
– ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม
ลงเรือแปะ ตามใจแปะ
– เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา

 

หมวด ว.

วัวแก่กินหญ้าอ่อน
– ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกคราวหลาน
วัวเคยขา ม้าเคยขี่
– ชายหญิงที่เคยมีสัมพันธ์กันมา ย่อมรู้จิตใจกันดีอยู่แล้ว.
วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา
– อย่าบังคับหรืออย่าฝืนให้เขาทำอะไรในสิ่งที่เขาไม่สมัคใจ.
วัวสันหลังขาด
– คนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี
วัวหายล้อมคอก
– เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวถึงขั้นเสียหายขึ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาคิดแก้ภายหลัง
วัวลืมตีน
– สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา
วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน
– คนที่ตะกละตะกลาม หรือเห็นแก่กินอย่างเดียว มักมุ่งหมายถึงคนชั้นต่ำที่ทำอะไรเห็นแต่ได้เกินไป.
วันพระไม่มีหนเดียว
– วันข้างหน้ายังมีโอกาส
ไว้ใจทาง วางใจคน จนใจเอง
– อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
– ว่าหรือสั่งสอนคนอื่นไม่ให้ทำ แต่กลับทำเอง

 

หมวด ศ.

ศรศิลป์ไม่กินกัน
– ไม่ถูกกัน
ศาลเตี้ย
– คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ ดำเนินคดีตามกฎหมาย จับกุมคนมาชำระตัดสินความโดยพละการ
ศิษย์มีครู
– คนเก่งที่มีครูเก่ง
ศึกหน้านาง
– การวิวาท หรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง

 

หมวด ส.

สอนจระเข้ว่ายน้ำ
– การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก.
สอนหนังสือสังฆราช
– การสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก
สัญชาติสุนัข อดขี้ไม่ได้
– คนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้
สมภารกินไก่วัด
– เป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มุ่งหมายโดยเฉพาะ ถึงผู้ชายที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหญิงสาวหลาย ๆ คนภายในบ้านหรือภายในวงงาน แล้วก็ถือโอกาสเกี้ยวพาเอาหญิงสาวเหล่านั้น
สร้างวิมานในอากาศ
– การสร้างความฝันว่าตนเองจะต้องได้เป็นใหญ่หรือ มีเงินทองมั่งมีขึ้นแล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้สมกับที่มีเงิน โดยที่ความใฝ่ฝันนั้นยังไม่แน่ว่าจะได้รับสมจริงหรือเปล่า
สาดน้ำรดกัน
– การทะเลาะทุ่มเถียงด่าทอโต้ตอบกันไปมา
สาวไส้ให้กากิน
– การที่เอาความลับหรือเรื่องไม่ดีของตนเองหรือของพี่น้องของตนไปเปิดเผยให้คนอื่นฟัง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองเลย.
สิบเบี้ยใกล้มือ
– อะไรที่ควรจะได้และอยู่ใกล้หรือเป็นสิ่งที่คว้าได้ง่าย ก็ควรจะคว้าไว้ก่อนดีกว่าที่จะมองข้ามไป
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
– การได้เห็นย่อมน่าเชื่อถือกว่าคำบอกเล่า

 

หมวด ห.

หมากัดอย่ากัดหมา
– คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย.
หมาเห่าใบตองแห้ง
– คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด
หมูเขาจะหาม เอาคานเข้ามาสอด
– การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
– การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
– เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นผิดเป็นชอบ
เห็นขี้ดีกว่าไส้
– เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องของตน
หว่านพืชหวังผล
– การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องหวังผลประโยชน์ตอบแทน
เหยียบเรือสองแคม
– คนที่ทำอะไรไม่ซื่อตรง และเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
เหยียบเต่าเต็มตีน
– ทำอะไรให้มั่นคงอย่าให้เกิดมีข้อผิดพลาดถึงเสียงานเสียการได้
หาเหาใส่หัว
– หาความลำบากมาใส่ตัวเองหรือเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตัวเอง

 

หมวด อ.

อดเปรี้ยวกินหวาน
– ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น
– เมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง
อัฐยายซื้อขนมยาย
– การได้รับประโยชน์หรือได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ
เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ
– อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
– สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา.
เอาทองไปรู้กระเบื้อง
– ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน
อ้อยเข้าปากช้าง
– สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่
– รู้เท่าทันคำพูดที่พูดออกมา
อาบน้ำต่างเหงื่อ
– ทำงานหนัก
อาบน้ำร้อนมาก่อน
– เกิดก่อนจึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากกว่า

 

 

ใส่ความเห็น